การฝังเข็มรักษาโรคทางระบบประสาท(Internet handbook of acupuncture for neurological disease)
บทนำ การรักษาโรคทางระบบประสาทกระทำได้โดย การใช้ยา, การผ่าตัด ,รังสีรักษา การฝังเข็ม แพทย์ควรรู้จักโรคทางระบบประสาทและวิธีการรักษาอย่างดี การฝังเข็มรักษาโรคเป็นทางเลือกหนึ่งที่อาจประยุกต์ใช้กับการรักษาโรคทางระบบประสาทซึ่งต้องรู้จักเลือกโรคที่เหมาะสม การฝังเข็มไม่สามารถทดแทนการรักษาโรคที่จำเป็นต้องรักษาด้วยการผ่าตัดหรือยา อาจใช้ร่วมหลังการผ่าตัดหรือรักษาโรคที่ยาไม่สามารถบำบัดอาการได้เช่น อาการปวดต่างๆ การฟื้นฟูสมรรถภาพหลังการผ่าตัด เป็นต้น แพทย์จึงควรเข้าใจข้อบ่งชี้ ,ข้อห้าม, โรคทางระบบประสาท และการวินิจฉัยโรคแผนปัจจุบันและการแพทย์แผนจีนอย่างดี เพื่อเลือกวิธีการรักษาที่ดีที่สุดสำหรับผู้ป่วยแต่ละรายอันเป็นศาสตร์และศิลป์ในการรักษาโรคเพื่อผลสำเร็จที่ดี ผู้ป่วยหายจากโรคหรือบรรเทาอาการต่างๆ หวังว่าจะเข้าใจและเลือกใช้การฝังเข็มอย่างถูกต้องและรวดเร็ว
กลุ่มโรคที่ได้ผลดีจากการฝังเข็ม
อาการปวดเรื้อรัง ปวดศีรษะ(Chronic headache)
ปวดหลัง(Sciatica,lumbago,Neck&shoulder pain)
ปวดกล้ามเนื้อ(Fibromyalgia,Myofascial pain syndrome)
ปวดจากพยาธิสภาพในระบบประสาท(Neuropathic pain)
ปวดข้อ(Osteoarthritis)
อัมพฤกษ์ อาการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อ(Muscle weakness)
อาการเกร็ง (Spasticity)
โรคหลอดเลือดสมอง(Cerebrovascular disease)
อาการเวียนศีรษะ(vertigo)
อาการผิดปกติที่เกิดจากการทำงานของระบบประสาทผิดปกติ(Organic brain syndrome)
ทฤษฎีการแพทย์แผนโบราณ(Traditional Chinese medicine) ทฤษฏีการแพทย์แผนจีน เน้นการท่องจำความรู้บางอย่างขาดเหตุผลจำเป็นต้องทำการศึกษาวิจัยซึ่งจะช่วยสร้างทฤษฎีพื้นฐานใหม่เพื่อง่ายแก่การเข้าใจ สิ่งสำคัญคือ การปรับสมดุลของร่างกาย(หยิน หยาง)เพื่อตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมภายในและภายนอก ปัจจัยที่ก่อโรคภายในและภายนอกร่างกาย สภาพร่างกาย การไหลเวียนของของเหลวและสารจำเป็นหรือลมปราณ(ชี่Qi)ผ่านเส้นลมปราณ เมื่อการไหลเวียนของชี่ผิดปกติทำให้การทำงานของร่างกายผิดปกติเสียสมดุลย์ การฝังเข็มเพื่อกระตุ้นเพื่อเพิ่มสิ่งที่พร่องและระบายสิ่งที่เกินช่วยปรับสมดุลย์ร่างกายผ่านเส้นลมปราณ(Meridian) การตรวจร่างกายเช่นเดียวกับการแพทย์แผนปัจจุบันที่แตกต่างคือวินิจฉัยกลุ่มอาการด้วย การดูลิ้น ตา และที่โดดเด่นคือการคลำชีพจร สามารถบ่งบอกการเปลี่ยนแปลงที่อวัยวะต่างๆของร่างกาย การรักษาคล้ายกับการรักษาด้วยยาคือ รักษาอาการที่เกิด(Symptomatic treatment), รักษาสาเหตุ(Direct causative treatment)
การวิจัยและพัฒนาประยุกต์ใช้การฝังเข็มทางการแพทย์แผนปัจจุบัน(Modern medicine acupuncture)ยังไม่มีทฤษฎีที่สมบูรณ์ที่จะอธิบายกลไกการออกฤทธิ์ของการฝังเข็ม จำเป็นต้องสร้างทฤษฎีเพื่อวิจัยด้วยหลักการโดยศาสตร์การแพทย์แผนปัจจุบันที่อธิบายอย่างเป็นเหตุและผล ทฤษฎีที่น่าจะเป็นไปได้ที่นำมาใช้ศึกษาวิจัยได้แก่
ทฤษฎีการปรับสมดุลย์ร่างกายผ่านระบบประสาท(Neurological modulation&reorganization theory) อาจจำลองModel ของการนำสัญญาณประสาทและการตอบสนองเช่นเดียวกับPain modelซึ่งช่วยอธิบายกลไกการทำงานของการฝังเข็มได้ดีที่สุดในปัจจุบัน
หยิน หยางเป็นสภาพธรรมชาติตรงข้ามกัน เย็นร้อน ถ้าจะพูดถึงการเปลี่ยนแปลงมีสองด้านคือมาก หรือน้อย โรคที่เกิดขึ้นทำให้การทำงานของร่างกายผิดปกติในสองลักษณะคือการทำงานมากไป(Hyperfunction) และน้อยไปของอวัยวะต่างๆ(Hypofunction) ระบบประสาท(Neurological system :brain,spinal cord,peripheral nerve)ที่ควบคุมการทำงานของอวัยวะภายในร่างกายคือระบบประสาทอัตโนมัติ(Autonomic nervous system)ซึ่งควบคุมการทำงานด้วยฮอร์โมน(Hormone) และเส้นประสาทที่รับและส่งสัญญาณประสาท(Sympathetic & Parasympathetic system)ร่วมกับการทำงานของสารเคมี(Adrenaline,epinephrine,norepinephrine,serotonin)เพื่อปรับสมดุลย์ของการทำงานของอวัยวะในร่างกาย (Internal homeostasis)และการทำงานโดยรวมของสมอง(Global brain function,Matrix neurological organization) จุดฝังเข็มบนร่างกายส่วนต่างๆจะกระตุ้นระบบประสาทผ่านตัวรับความรู้สึก(Receptor)ที่ผิวหนัง กล้ามเนื้อ การฝังเข็มเป็นการกระตุ้นระบบประสาท(Neurlogical stimulation)เมื่อฝังเข็มจะรู้สึกเสียวแปลบ(เต๋อซี่)แสดงถึงการปักเข็มใกล้(ผ่านReceptor)หรือจุดฝังเข็มตรงกับเส้นประสาท (Direct Sensory nerve stimulation) เกิดการนำสัญญาณประสาทผ่านเซลล์ประสาทรับความรู้สึกที่เส้นประสาทและไขสันหลังไปยังสมองที่รับความรู้สึก(Parietal lobe)และผ่านระบบReticular formation(Reticular activating system) กระแสประสาทจะกระจายไปยังสมองส่วนต่างๆและระบบประสาทอัตโนมัติแตกต่างกันไป การฝังเข็มจึงกระตุ้นการนำสัญญาณประสาทเข้าสู่ส่วนกลาง(Central perception)มีผลต่อระบบประสาทอัตโนมัติและมีผลต่อสมองส่วนต่างๆ(Focal & global brain function )ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของระบบประสาทเพื่อตอบสนอง(Central modulation &Reorganization)โดยสารสื่อกระแสประสาท(Neurotransmitter)และสารต่างๆในระบบประสาท
ชี่(Qi)หรือสารที่มีขนาดเล็กที่จำเป็นต่อร่างกาย ร่างกายมีการแลกเปลี่ยน ขนส่งสารที่จำเป็นสำหรับเซลล์ต่างๆ เลือด กาซ(Gas:ออกซิเจน คาร์บอนไดออกไซด์) เกลือแร่(Electrolyte) กระแสประสาท(Electrical discharge) เคลื่อนไหวตลอดทั่วร่างกาย ชี่จึงเทียบเคียงได้กับกระแสประสาทที่วิ่งไปทั่วร่างกาย และ กาซต่างๆอาจรวมถึงสารสื่อประสาท ฮอร์โมน(Hormone)ที่หล่อเลี้ยงทุกอวัยวะของร่างกาย ผลโดยรวมของการกระตุ้นทำให้เกิดการตอบสนองเกี่ยวกับการนำสัญญาณประสาททั่วระบบประสาทสมอง,ไขสันหลัง เส้นประสาท สารสื่อประสาท ฮอร์โมน สารต่างๆ จากการวิจัยพบสารต่างๆที่หลั่งออกมามากขึ้นเมื่อมีการฝังเข็มเช่น Endorphinช่วยลดอาการปวด
เส้นลมปราณ(Meridian) ทิศทางคล้ายการนำสัญญาณประสาทผ่านเส้นประสาทออกจากสมองสู่ส่วนปลายแขนขาและกลับเข้าสมองและการนำของเหลวผ่านหลอดเลือดจากหัวใจไปยังแขนขาและกลับสู่หัวใจเส้นลมปราณที่จริงอาจเทียบได้กับเส้นเลือดและเส้นประสาทที่กระจายทั่วร่างกาย
จุดฝังเข็มทั่วร่างกาย(Acupuncture point)แต่ละจุดจะกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางระบบประสาทแตกต่างกันไป ผลที่ได้เกิดจากผลรวมของการเปลี่ยนแปลงด้วยการควบคุมผ่านระบบประสาท
เช่น เมื่อกระตุ้นจุดฝังเข็มที่ปลายแขน(เน่ยกวน)จะเกิดการปลี่ยนแปลงระบบประสาทอัตโนมัติร่วมกับส่วนLIMBIC System สามารถลดความดันโลหิตหรือเพิ่มความดันโลหิตและปรับแก้ไขอารมณ์ ที่ผิดปกติให้สงบลงได้
การศึกษาการเปลี่ยนแปลงของจุดฝังเข็มแต่ละจุด กับสารสื่อประสาท ฮอร์โมน การตอบสนองของระบบประสาทจึงช่วยอธิบายการทำงานของการฝังเข็ม ที่การวิจัยด้วยศาสตร์การแพทย์แผนปัจจุบันยอมรับได้และสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการรักษาเพื่อเพิ่มทางเลือกของการรักษาโรค
องค์การอนามัยโลกได้รับรองโรคที่สามารถรักษาด้วยการฝังเข็ม อย่างไรก็ตามข้อจำกัดคือไม่ควรฝังเข็มผู้ป่วยด้วยโรคที่ต้องรักษาด้วยยาและผ่าตัด
การศึกษาวิจัยเพื่อประยุกต์ใช้การฝังเข็มรักษาโรคทางการแพทย์แผนปัจจุบันมีผู้สนใจมากมายแพทย์ทุกสาขาทั้งอายุรศาสตร์ ศัลยศาสตร์ ตา หู คอ จมูก กายภาพบำบัด วิสัญญี และ ประสาทศัลยแพทย์ มีการศึกษาวิจัยอย่างต่อเนื่องเพื่ออธิบายปัญหาที่พบของศาสตร์แห่งการฝังเข็มซึ่งช่วยให้เข้าใจการแพทย์แผนจีนดีขึ้น รายละเอียดจะนำเสนอต่อไป